หากพูดถึง Fire Alarm หรือระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในระบบที่ขาดไม่ได้ในการติดตั้งระบบความปลอดภัยภายในสถานที่ต่างๆ ทั้งอาคาร ห้าง โรงงาน โครงการหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดก็ล้วนวางระบบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้ใช้งานสถานที่ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้และไม่มีการแจ้งเตือนที่ดี ก็อาจนำความเสียหายมาให้สถานที่นั้นๆ ได้อย่างมหาศาล ดังนั้นในวันนี้ เราจะมาแนะนำระบบ Fire Alarm ว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร แล้วมีกี่ประเภท พร้อมทำความรู้จัก Fire Edge IoT เทคโนโลยีความปลอดภัยจากอัคคีภัยจาก LIV-24
Fire Alarm คืออะไร ?
Fire Alarm คือ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยจะแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ผ่านระบบอุปกรณ์ตรวจจับต่างชนิดกันไป ตามความเหมาะสมของสถานที่นั้นๆ เช่น Smoke Detector, Heat Detector หรือ Manual Pull Station เป็นต้น
โดยระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในเหตุอัคคีภัย ไฟสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก ซึ่งระบบไฟอลามสามารถช่วยเตือนเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่ได้ทันที ผู้คนจึงอพยพออกจากสถานที่ได้รวดเร็ว อีกทั้งยังแจ้งหน่วยดับเพลิงได้ทันท่วงที เพื่อระงับไฟและลดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
ระบบ Fire Alarm ประกอบด้วยอะไรบ้าง
โดยทั่วไป Fire Alarm ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1. ชุดจ่ายไฟ (Power Supply)
อุปกรณ์สำหรับจ่ายไฟให้กับระบบ โดยปกติจะทำงานร่วมกับชุดสำรองไฟฟ้า เพื่อให้ระบบ Fire Alarm ทำงานได้ในกรณีไฟดับ
2. แผงควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
ส่วนควบคุมและตรวจสอบการทำงานของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทั้งหมด โดยมีทั้ง CPU ควบคุมระบบ สัญญาณไฟแสดงสถานะ ปุ่มควบคุมการทำงาน และอุปกรณ์ส่งเสียง
3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)
อุปกรณ์ที่จะทำการส่งสัญญาณให้ระบบแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบแมนนวล ที่เป็นอุปกรณ์แบบดึงมือ ซึ่งมักติดตั้งในจุดที่สังเกตได้ง่าย และแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่างๆ ขณะเกิดเพลิงไหม้ เช่น ควัน ความร้อน และเปลวไฟ จากนั้นจึงส่งสัญญาณแจ้งเตือน
4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง (Audible & Visual Signalling Alarm Devices)
อุปกรณ์ที่ใช้เสียงหรือแสงในการเตือนสัญญาณแจ้ง ซึ่งหลายคนอาจคุ้นเคยกันดีในรูปแบบของกระดิ่งเตือนภัย และแสงไฟกะพริบจากป้ายทางหนีไฟ นอกจากนี้ยังมีการแจ้งเตือนในรูปแบบเสียงตามสาย และเสียงอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
5. อุปกรณ์ประกอบ (Auxiliary Devices)
อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกับระบบ Fire Alarm เช่น ระบบควบคุมการเปิด-ปิดประตูหนีไฟ สปริงเกอร์ดับเพลิง หรืออื่นๆ เพื่อช่วยให้การอพยพเป็นไปอย่างราบรื่น และลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ประเภทของระบบ Fire Alarm มีอะไรบ้าง
Fire Alarm ในแต่ละสถานที่อาจแตกต่างกันไปตามการพิจารณาติดตั้งของเจ้าของสถานที่ ซึ่งอาจคำนึงจากปัจจัย เช่น ขนาดพื้นที่หรือตัวอาคาร ระดับความปลอดภัย รวมถึงความสะดวกสบายในการใช้งาน

ทั้งนี้ โดยทั่วไปจะมีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่
1. Conventional Fire Alarm System (ระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้แบบแบ่งเป็นโซน)
ระบบ Fire Alarm ที่จะแบ่งพื้นที่การควบคุมของอาคารออกเป็นส่วนๆ ตามมาตรฐานของกฎหมายระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้มีระยะค้นหาจุดที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ แต่ไม่สามารถระบุถึงตำแหน่งที่เกิดเพลิงไหม้ได้เจาะจง
2. Addressable Fire Alarm System (ระบบแบบระบุตำแหน่ง)
ระบบที่มีความสามารถในการระบุที่ตั้งของอุปกรณ์แจ้งเตือนที่มีปัญหาหรือเกิดเหตุ จึงอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลให้ทราบถึงจุดที่เป็นสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ ส่งผลให้สามารถอพยพผู้คนออกจากจุดเกิดเหตุได้เร็วขึ้น ซึ่งระบบนี้มักถูกติดตั้งในตัวอาคารขนาดใหญ่และตามโรงงานขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่มาก
3. Aspiration Fire Detection System (ระบบตรวจจับควันแบบสุ่มอากาศ)
ระบบที่อาศัยเทคโนโลยีการดูดซึมอากาศ เพื่อตรวจจับควันและความร้อน ซึ่งหากควันหรืออากาศที่ตรวจจับมีความผิดปกติสัญญาณเตือนก็จะดังขึ้น โดยนับเป็นระบบที่มีความไวและแม่นยำในการตรวจจับควันเป็นอย่างมาก ซึ่งระบบนี้มักนิยมใช้ในห้องที่ต้องการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง เช่น ห้องเซิฟเวอร์ ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4. Intelligent Fire Alarm System (ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัยอัจฉริยะ)
ระบบที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการตรวจจับควันและความร้อน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุความเสี่ยงและการแจ้งเตือนที่แม่นยำกว่าระบบอื่นๆ โดยอาจเป็นการใช้ AI และระบบกล้องวงจรปิดควบคู่กัน เพื่อสอดส่องจุดที่อาจมีเหตุเพลิงไหม้
5. Wireless Fire Alarm System (ระบบไร้สาย)
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ไม่ต้องเดินสายใดๆ ในการส่งถ่ายข้อมูล จึงถือเป็นระบบที่ติดตั้งสะดวก เหมาะกับสถานที่ที่ไม่สามารถเดินสายได้ เช่น อาคารที่มีโครงสร้างเปลือย พื้นที่เปิดโล่ง เป็นต้น
ปลอดภัยจากอัคคีภัย สร้างความอุ่นใจมากขึ้นด้วย FIRE EDGE IoT จาก LIV-24
ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีความปลอดภัยที่มอบโซลูชันครบวงจร LIV-24 ได้พัฒนา IoT Monitoring System ระบบอัจฉริยะตรวจจับการทำงานของทุกระบบในสถานที่ โดยมีโซลูชัน Fire Protection System ที่ปลอดภัยกว่าระบบ Fire Alarm แบบดั้งเดิม

- รู้สถานะการทำงานของอุปกรณ์เตือนภัยว่าทำงานปกติ ไม่พลาดทุกเหตุการณ์อันตราย ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินอันมีค่า
- ประหยัดพื้นที่ และค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
- ทำงานร่วมกับกล้อง CCTV และ AI CCTV Analytic คอยตรวจจับควันที่มองไม่เห็นได้แม่นยำ ในจุดอับสายตามนุษย์
- สามารถแจ้ง LIV-24 Command Centre ทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมประสานงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวดเร็ว เข้าแก้ไขได้ฉับไว
นอกจากนี้ IoT Monitoring System ยังครอบคลุมระบบไฟฟ้า ประปา ลิฟต์โดยสาร คุณภาพอากาศ และการใช้พลังงาน ซึ่งใช้ได้กับอาคารเพื่อการพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงแรม รีสอร์ท โชว์รูม ไปจนถึงคลังเก็บสินค้า และอื่นๆ สามารถระบุเหตุการณ์และจุดเกิดเหตุได้ทำให้สามารถประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทีมช่างประจำโครงการเข้าตรวจสอบและแก้ไขได้ทันที ลดความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ป้องกันได้แม่นยำ ยกระดับธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่น เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของทุกระบบ นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของธุรกิจและสถานที่

ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม เพิ่มประสิทธิภาพ ด้วย LIV-24 (ลิฟ-24)
เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ ปกป้อง ปลอดภัย ผสานพลัง AI และมนุษย์ ตลอด 24/7
ให้ LIV-24 ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณโดยเฉพาะ 02 688 7555 หรือ คลิกที่นี่