เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว คืออะไร ? ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง

เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว คืออะไร ? ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง

เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ซึ่งรวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยอีกด้วย โดยหลายคนอาจพบเจอได้ในรูปแบบของระบบกันขโมย ระบบป้องกันอัคคีภัย รวมถึงระบบควบคุมการเข้า-ออกสถานที่ แล้วเซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวคืออะไร มีกี่ประเภท แล้วมีหลักการทำงานอย่างไรเมื่อนำมาใช้ในระบบความปลอดภัย มาหาคำตอบได้ในบทความนี้

เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว คืออะไร?

เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว หรือ Motion Sensor คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการตรวจจับความเคลื่อนไหวทางกายภาพของสิ่งมีชีวิต หรือเมื่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุ เช่น แสงสว่าง ความหนาแน่น หรืออุณหภูมิ

โดยเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวมีหลักการทำงาน คือ การปล่อยเซ็นเซอร์ออกไปในพื้นที่ที่กำหนดไว้ แล้วเมื่อตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ ตัวเครื่องจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปยังซอฟต์แวร์ ซึ่งจะทำการประมวลผลข้อมูล และสั่งการในขั้นตอนต่อไป

ประเภทเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว มีอะไรบ้าง

ปัจจุบัน เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ซึ่งมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. Ultrasonic

Ultrasonic (อัลตราโซนิกส์) คือ Motion Sensor ที่มีหลักการทํางานโดยอาศัยการสะท้อนของคลื่นความถี่เสียง โดยปล่อยคลื่นเสียงที่มีความถี่ตั้งแต่ 20 kHz ออกไปกระทบกับวัตถุ และตรวจวัดการสะท้อน เพื่อคำนวณหาระยะห่าง แล้วทำการเทียบเวลาในขณะที่มีวัตถุเคลื่อนที่

เซ็นเซอร์อัลตราโซนิกส์มักถูกนำไปใช้ในเครื่องควบคุมระยะไกล เครื่องตรวจวัดระดับน้ำ หรือใช้เพื่อตรวจจับความหนาของวัตถุในการผลิต เป็นต้น

2. Passive Infrared Sensors (PIR)

PIR Sensor คือ เซ็นเซอร์ที่ตรวจจับคลื่นรังสีอินฟราเรดจากวัตถุ ซึ่งเซ็นเซอร์ประเภทนี้มีความไวต่ออุณหภูมิอย่างมาก จึงนิยมนำมาประยุกต์ใช้ความเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต

โดยเซ็นเซอร์ประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในเทคโนโลยีหลากหลาย อาทิ สวิตช์เปิด-ปิดไฟอัตโนมัติเมื่อมีคนเดินผ่าน รวมถึงในระบบความปลอดภัย สำหรับการตรวจจับผู้บุกรุกสถานที่ หรือใช้เป็นเซ็นเซอร์ประตูทางเข้า-ออก

3. Microwave

เซ็นเซอร์ Microwave มีหลักการทำงานคล้ายกับเซ็นเซอร์อัลตราโซนิกส์ แต่จะอาศัยคลื่นไมโครเวฟที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่า จึงตอบสนองและตรวจจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้รวดเร็ว

ปัจจุบัน เซ็นเซอร์ไมโครเวฟนิยมนำมาใช้งานกับประตูอัตโนมัติ โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณกว้างอย่างประตูทางเข้าอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หรือโรงแรม เป็นต้น

บทบาทของเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ในระบบรักษาความปลอดภัย

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้ถูกมาประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัยในหลายด้าน โดยเฉพาะเซ็นเซอร์ประเภท PIR ที่ตรวจจับได้ทั้งความเคลื่อนไหวและอุณหภูมิ ซึ่งมักนำมาใช้ในการตรวจจับผู้บุกรุกสถานที่ โดยการติดตั้งรอบรั้วโครงการหมู่บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ โรงงาน หรือแม้แต่ในลานจอดรถ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมทางเข้า-ออก เช่น ประตูหรือไม้กั้นอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกสถานที่ และป้องกันบุคคลภายนอกไม่ให้เข้ามายังพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต

นอกจากนี้ เซ็นเซอร์จับความเคลื่อนไหวยังถูกนำมาใช้งานร่วมกับกล้อง CCTVเพื่อตรวจจับผู้บุกรุกในจุดอับสายตา ตรวจสอบควันไฟหรือไฟไหม้ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ให้เข้ามาระงับเหตุได้ทันเวลา ลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน รวมถึงคอยสอดส่องความเคลื่อนไหวผิดปกติในบริเวณพื้นที่

เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว และโซลูชันความปลอดภัยจาก LIV-24

เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้สูงยิ่งขึ้น LIV-24 ได้นำเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในโซลูชันความปลอดภัย ซึ่งรวมไปถึงเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวอีกด้วย

  • AI CCTV Analytic และ Motion Sensor – กล้องวงจรปิดที่มี AI และระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลน่าสงสัย สัตว์มีพิษ หรือควันไฟ สามารถตรวจจับได้แม้แต่ในจุดอับที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ช่วยให้สามารถป้องกันก่อนเกิดเหตุได้อย่างทันท่วงที
  • Digital Fence – ระบบเซ็นเซอร์ที่มีความสามารถตรวจจับความผิดปกติรอบรั้วของพื้นที่ ทั้งการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต และผู้บุกรุกตามแนวรั้ว พร้อมแจ้งเตือนทันทีแบบ Real-Time เมื่อมีการเคลื่อนไหว ลดความเสี่ยงจากการถูกบุกรุก

นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าว LIV-24 พร้อมมอบโซลูชันความปลอดภัยแบบรอบด้าน เช่น

365165814 138418835969159 2498790407362022575 n
  • Real Time Guard Tour – คอยตรวจสอบสถานะการเดินตรวจตราตามจุดต่างๆ ของรปภ.
  • Visitor Management System – ระบบควบคุมการเข้า-ออกโครงการ สามารถบันทึกข้อมูล อ่านป้ายทะเบียนรถ ระบุตัวตนผู้เข้ามาในพื้นที่ได้ หมดกังวลเรื่องผู้บุกรุก
  • Access Control – ควบคุมบุคคลเข้าออกพื้นที่ ด้วยระบบ Face Scan สแกนใบหน้าเพื่อปลอดล็อกประตูและ LRP (License Plate Reader) อ่านป้ายทะเบียนก่อนเข้าสถานที่ ทำให้สามารถควบคุมพื้นที่ได้ตั้งแต่ห้องห้องเดียวหรือทั้งโครงการก็ได้
  • Command Centre – ศูนย์ควบคุมส่วนกลางของ LIV-24 เฝ้าสังเกตการณ์แบบ Real-Time ตลอด 24 ชั่วโมง
MKP00243
ห้อง Command Centre ของ LIV-24 พร้อม LIV-24 agent

อีกทั้ง LIV-24 ยังพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาตรฐานสากลอย่าง IoT Management System สำหรับตรวจสอบ วิเคราะห์ และแสดงผลการทำงานของอุปกรณ์ในระบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ประปา ลิฟต์โดยสาร คุณภาพอากาศ และการใช้พลังงาน ยิ่งไปกว่านั้น หากเชื่อมต่อกับ Command Centre แล้วหากพบเหตุผิดปกติ สามารถระบุเหตุการณ์และจุดเกิดเหตุได้ ทำให้ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทีมช่างประจำโครงการให้เข้าตรวจสอบและแก้ไขได้ทันที ลดความเสียหายและค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ป้องกันได้แม่นยำ ยกระดับธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่น และเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของทุกระบบ

Activate you security

ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิม เพิ่มประสิทธิภาพ ด้วย LIV-24 (ลิฟ-24)
เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ ปกป้อง ปลอดภัย ผสานพลัง AI และมนุษย์ ตลอด 24/7
ให้ LIV-24 ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างโซลูชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจคุณโดยเฉพาะ 02 688 7555 หรือ คลิกที่นี่

Share news and articles
Rectangle 9437

Interesting news and articles

เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว คืออะไร ? ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างไรบ้าง
LIV 24 ESG TECH Cover photo 1100x680
LIV-24 ส่ง ESG Tech ปฏิวัติภาคอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยี AI ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
2shutterstock 1384803509
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm คืออะไร? สำคัญอย่างไรในการเพิ่มความปลอดภัยสถานที่
cyber security concept 23 2148532223
ระบบ Access Control คืออะไร? มีข้อดีอย่างไรบ้าง ในการดูแลควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่
To top
Interested in our solutions?
Feel Free to download
E-brochure

"*" indicates required fields

This field is for validation purposes and should be left unchanged.

Interested in our solutions?

Feel Free to download
E-brochure

"*" indicates required fields

This field is for validation purposes and should be left unchanged.